แท็บ — ย้ายแกดเจ็ตไว้ข้างใต้ส่วนหัว

รายวิชา ประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส22102 คุณครูผู้สอน คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558

7.การจัดการศึกษาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 4-7)

การจัดการศึกษา
                - สมัยรัชกาลที่ 4
                   1. ให้มีการคัดลอกภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี คำพิพากษาต่างๆ ไว้ในสมุดหลายเล่มเพื่อการศึกษาของสามัญชนโดยปกติจะอยู่ที่วัดและมีพระเป็นผู้สอน
                   2. ได้ผ่อนคลายปัญหาการขาดแคลนกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถด้วยการจ้างชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการ
                   3. ทรงริเริ่มส่งนักเรียนไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ
                - สมัยรัชกาลที่ 5
                   ได้มีการปรับปรุงการศึกษาครั้งสำคัญโดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญ 2 ประการดังนี้
                   1. จัดตั้งโรงเรียนเพื่อผลิตคนเข้ารับราชการและพัฒนาประเทศให้ทันสมัย โดยมีการจัดตั้งโรงเรียนดังนี้
                                ก. โรงเรียนหลวงแห่งแรกในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ.2414 คือโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ต่อมาในปี พ.ศ.2425 เรียกชื่อว่า โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
                                ข. ตั้งโรงเรียนทำแผนที่
                                ค. ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูของกระทรวงธรรมการ
                                ง. ตั้งโรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม
                   2. จัดตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎรเพื่อให้การศึกษาหาความรู้
                       ในปี พ.ศ.2427 ได้ตั้งโรงเรียนมหรรณพาราม ขึ้นเป็นโรงเรียนสำหรับราษฎรแห่งแรก เมื่อแรกตั้งมีการเล่าลือกันว่าจะเอาเด็กไปเป็นทหาร ราษฎรก็พากันหวาดกลัวไม่ยอมส่งบุตรหลานเข้าเรียน ต่อเมื่อรัชกาลที่ 5 ออกประกาศชี้แจงว่าการตั้งโรงเรียนตั้งเพื่อให้ราษฎรรู้หนังสือเป็นประโยชน์แก่ตัวเองและแก่บ้านเมือง กิจการโรงเรียนหลวงจึงเจริญขึ้นตามลำดับ        
                       ต่อมาทรงมีพระราชดำริแยกโรงเรียนมหาดเล็กหลวงออกจากกรมทหารมหาดเล็กและโปรดให้ตั้งกรมศึกษาธิการขึ้นมีเจ้าพระยาภาสกรวงศ์เป็นเสนาบดีคนแรก
                      การจัดวางระบบการศึกษาแบบใหม่เริ่มพัฒนาปรับปรุงขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2435 ดังนี้       
                      - การประกาศตั้งโรงเรียนมูลศึกษา พ.ศ.2435 ตั้งขึ้นตามวัด แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ มูลศึกษาสามัญชั้นต้นใช้เวลาเรียน 3 ปี และมูลศึกษาสามัญชั้นสูงใช้เวลาเรียน 1 ปี และได้มีการชักชวนให้เอกชนตั้งโรงเรียนเชลยศักดิ์ (โรงเรียนราษฎร์) โรงเรียนเชลยศักดิ์แห่งแรกได้แก่โรงเรียน คริสเตียนวิทยาลัย ซึ่งเดิมชื่อสำเหร่บอยคริสเตียนไฮสกูล                            
                      - ทำโครงการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2441 และ พ.ศ.2445 เรียกว่าโครงการแผนกการศึกษาโครงการแผนการศึกษา พ.ศ.2441 แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ภาคคือ    
                                ภาคแรก เป็นการศึกษาในกรุงเทพ
                                ภาคที่สอง ว่าด้วยการศึกษาในหัวเมือง รัชกาลที่ 5 ทรงมอบให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นผู้รับผิดชอบ
                                โครงการแผนการศึกษา พ.ศ.2445 แบ่งสหการศึกษาเป็น 2 สาย คือสายสามัญศึกษาการสายวิสามัญ
                     - แบบเรียนที่ใช้เรียนมี 6 เล่ม เรียบเรียงโดย พระยาศรีสุนทรโวหาร ได้แก่ มูลบทบรรพกิจ  วาหนิต์นิกร  อักษรประโยค  สังโยคพิธาน  ไวพจน์พิจารณ์ และพิศาลการันต์
                     - ให้มีการสอบทุนเล่าเรียนหลวงไปเรียนต่างประเทศเรียกว่าทุน คิงสกอลาชิป ปีละ 2 คน ส่งไปอเมริกาและยุโรป           
                - สมัยรัชกาลที่ 6
                   1. ได้มีการขยายการศึกษาไปสู่ราษฎร เน้นด้านการศึกษาหาเลี้ยงชีพ ด้านหัตถกรรม เกษตรกรรม พาณิชการ  วิชาครู วิชาการเสมียน
                   2. พ.ศ.2456 ประกาศโครงการศึกษาฉบับใหม่แบ่งการศึกษาเป็นประเภทสามัญและวิสามัญ
                   3. ตั้งโรงเรียนขึ้นตามมณฑลต่างๆ ทุกมณฑล
                   4. ตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวงตามแบบโรงเรียนประจำของอังกฤษ ปัจจุบันคือโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
                   5. ออก พ.ร.บ.ประถมศึกษา พ.ศ.2464
                   6. เก็บเงินศึกษาพลีจากชาวไทยที่มีอายุระหว่าง 18-60 ปี อย่างต่ำ 1 บาท อย่างสูง 3 บาท ตามฐานะ
                   7. ตั้งโรงเรียนอาชีวศึกษา เช่น พาณิชการ เพาะช่าง อุเทนถวาย และโรงเรียนฝึกหัดครู
                   8. ตั้งมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทยคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งยกฐานะมาจากโรงเรียนข้าราชการพลเรือนหรือโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเดิม
                - สมัยรัชกาลที่ 7 (ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง)
                   ยังไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใดๆ ยังคงดำเนินตามสมัยรัชกาลที่ 6
จงตอบคำถามต่อไปนี้
                1. การปฏิรูปการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้ระบบการศึกษาของไทยเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
                2. การจัดการศึกษาที่เน้นการหาเลี้ยงชีพในสมัยรัชกาลที่ 6 หมายถึงอะไร และสามารถ เลี้ยงชีพได้อย่างไร
                3.   ทุนเล่าเรียนหลวงหรือ คิงสกอลาชิป มีความจำเป็นหรือมีประโยชน์  อย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น