แท็บ — ย้ายแกดเจ็ตไว้ข้างใต้ส่วนหัว

รายวิชา ประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส22102 คุณครูผู้สอน คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558

9_การเมืองการปกครองยุคปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย

การเมืองการปกครองยุคปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก
การรับอารยธรรมตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 4

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 4 ทรงมีโอกาสได้ศึกษาความรู้ในวิทยาการสมัยใหม่ของประเทศตะวันตก ตั้งแต่ในครั้งที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ โดยเฉพาะการศึกษา ภาษาละติน และภาษาอังกฤษ อีกทั้งมีโอกาสได้คุ้นเคยกับพ่อค้าชาวตะวันตก จึงทำให้ทรงทราบสถานการณ์ของโลกในขณะนั้นเป็นอย่างดี

แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เกี่ยวกับสถานการณ์ของโลกในขณะนั้น สรุปได้ 2 ประการ คือ

* ความเจริญก้าวหน้าในความรู้และวิทยาการของโลกตะวันตก เป็นสิ่งที่มีประโยชน์สำหรับบ้านเมือง จึงสมควรที่คนไทยจะได้เรียนรู้ไว้
* การเผชิญหน้ากับภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยม ประเทศมหาอำนาจตะวันตกกำลังแผ่ขยายอิทธิพลเข้ารุกรานในอินเดีย จีน และพม่าสมควรที่ไทยต้องเร่งรีบปรับปรุงประเทศให้เข้มแข็งและเจริญก้าวหน้า เพื่อป้องกันมิให้ถูกบีบบังคับหรือข่มเหงเหมือนประเทศอื่นๆ

นโยบายของไทยที่มีต่อลัทธิจักรวรรดินิยม

ลัทธิจักรวรรดินิยม คือ การล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก มักจะเริ่มต้นด้วยการติดต่อเข้ามาค้าขายก่อน ต่อมาจึงอ้างความไม่เป็นธรรมที่ได้รับ หรือความล้าหลังด้อยพัฒนาความเจริญของประเทศนั้นๆ และใช้กำลังเข้าควบคุมหรือยึดครองเป็นอาณานิคมในที่สุด การใช้กำลังเข้าต่อสู้มีแต่จะตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากยิ่งขึ้น ดังนั้น รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 จึงทรงใช้พระบรมราโชบายเพื่อความอยู่รอดของประเทศชาติ ดังนี้

* การผ่อนหนักเป็นเบา หมายถึง การโอนอ่อนผ่อนตามให้ชาติมหาอำนาจเป็นบางเรื่อง คือการยอมทำสัญญาเสียเปรียบ จะเห็นได้จากการทำสนธิสัญญาเบาริง ระหว่างไทยกับอังกฤษ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่มาก
* การยอมเสียดินแดน สมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ไทยเสียดินแดนให้แก่อังกฤษและฝรั่งเศส ตามนโยบายเสียส่วนน้อย เพื่อรักษาส่วนใหญ่
* การปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัย
เพือมิให้มหาอำนาจตะวันตกใช้เงื่อนไขความล้าหลังด้อยพัฒนาของไทย เป็นข้ออ้างใช้กำลังเข้ายึดเป็นเมืองขึ้น และนำความเจริญมาสู่ชาวพื้นเมืองอาณานิคม เหมือนดังที่ทำกับทวีปแอฟริกา การปฏิรูปความเจริญของบ้านเมืองครั้งสำคัญเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ทั้งด้านการปกครอง กฏหมาย การทหาร ฯลฯ
* การเจริญไมตรีกับประเทศมหาอำนาจยุโรป
รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปถึง 2 ครั้ง เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศมหาอำนาจตะวันตก ช่วยถ่วงดุลอำนาจมิให้ชาติใดชาติหนึ่งมาข่มเหงบีบคั้นไทย จึงเป็นวิธีการรักษาเอกราชอธิปไตยของชาติอีกทางหนึ่ง

การพัฒนาทางการเมืองในสมัยรัชกาลที่ 5

รัชกาลที่ 5 ทรงจัดตั้งสภาที่ปรึกษาเพื่อช่วยในการบริหารราชการแผ่นดินในปี 2417 ดังต่อไปนี้

* การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินจำนวน 12 คน ทำหน้าที่ถวายคำปรึกษาข้อราชการแผ่นดินแด่พระมหากษัตริย์
* การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ประกอบด้วยสมาชิก 99 คน ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในพระองค์
* ในปี พ.ศ.2427(ร.ศ.103) ได้มีเจ้านายและขุนนางข้าราชการกลุ่มหนึ่งซึ่งได้รับการศึกษาตามแบบตะวันตก ได้เสนอคำกราบบังคมทูลความเห็นเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินแด่พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยชี้ให้เห็นว่าการจะรักษาเอกราชของชาติได้นั้น จะต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศให้เป็นแบบพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้ รัฐธรรมนูญ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นด้วย แต่ควรดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยจะต้องทำการปฏิรูปการปกครองเสียก่อน ดังนั้นในปี พ.ศ.2430 พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์โรปการเสด็จไปศึกษาและดูงานเกี่ยวกับการจัดตั้ง คณะเสนาบดีตามแบบยุโรปที่ประเทศอังกฤษและหลังจากนั้นไม่นานก็มีการปฏิรูปการ ปกครองขึ้นในประเทศไทย

การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5

* การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศจัดตั้ง เสนาบดีสภาและจัดตั้งกระทรวงแบบใหม่12 กระทรวง ได้แก่ กลาโหมนครบาลวังเกษตรพานิชการพระคลัง,การต่างประเทศยุทธนาธิการโยธาธิการธรรมการยุติธรรม ,มุรธาธิการ และมหาดไทย แทนจตุสดมภ์เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2435 หลังจากนั้นในวันที่ 1 เมษายน 2435 ทรงยุบกระทรวงที่ซ้ำซ้อนกันอยู่ทำให้เหลือกระทรวงเพียง 10 กระทรวง คือ มหาดไทย กลาโหม นครบาล วัง ต่างประเทศ พระคลังมหาสมบัติ โยธาธิการ ยุติธรรม ธรรมการ เกษตราธิการ
* การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงจัดการรวบรวมหัวเมืองตามชายแดนต่างๆ ขึ้นเป็นเขตการปกครอง เรียกว่า มณฑลโดยมีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองและขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกได้ดังนี้
การปกครองแบบเทศาภิบาล หลักการปกครองแบบนี้คือ รัฐบาลจะทำการปกครองหัวเมืองตั้งแต่ชั้นต่ำสุดถึงสูงสุด โดยเริ่มต้นจากพลเมืองเลือกผู้ใหญ่บ้าน และผู้ใหญ่บ้าน 10 หมู่บ้านมีสิทธิเลือกกำนันของตำบล ตำบลหลายๆ ตำบลมีพลเมืองประมาณ 10,000 คนรวมกันเป็นอำเภอ หลายอำเภอรวมกันเป็นเมือง และหลายเมืองรวมเป็นมณฑลโดยมีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ดูแล
การปกครองท้องที่ ในพ.ศ.2440 รัชกาลที่ 5 ทรงตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ สำหรับการจัดการปกครองระดับอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น ทรงริเริ่มจัดการ สุขาภิบาลในเขตกรุงเทพ และตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อทดลองให้ประชาชนรู้จักการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น

ผลของการปฏิรูปการเมืองการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5

* ก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในราชอาณาจักร เป็นผลจากการปกครองส่วนภูมิภาคในรูปมณฑลเทศาภิบาล โดยมีศูนย์รวมอยู่ที่กรุงเทพ
* รัฐบาลไทยที่กรุงเทพฯ สามารถขยายอำนาจเข้าควบคุมพื้นที่ภายในพระราชอาณาจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
* ทำให้กลุ่มผู้สูญเสียผลประโยชน์จากการปฏิรูปการปกครองพากันก่อปฏิกิริยาต่อต้านรัฐบาล ดังจะเห็นได้จากกบฏผู้มีบุญทางภาคอีสาน ร.ศ.121 กบฏเงื้ยวเมืองแพร่ ร.ศ.121 และกบฏแขกเจ็ดหัวเมือง แต่รัฐบาลก็สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้

การปฏิรูปการยุติธรรมและการศาล

* ในพ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพยายามริเริ่มปฏิรูปการศาลให้ดีขึ้น โดยการจัดตั้งศาลรับสั่งขึ้นตรงต่อพระองค์ เพื่อพิจารณาคดีความที่อยู่ในกรมพระนครบาล มหาดไทย กรมท่า เมื่อ รัชกาลที่ 5 ทรงรวมอำนาจศาลไปขึ้นกับส่วนกลาง ทำให้ค่าธรรมเนียมและรายได้ที่ขุนนางเคยได้ลดลง และไม่เปิดโอกาสให้ใช้อำนาจทางศาลในทางที่ผิดได้อีกต่อไป นอกจากนี้ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกระทรวงยุติธรรมในพ.ศ.2435 ด้วยเพื่อพิจารณาคดีอาญาและคดีแพ่งตามแบบตะวันตก โดยมอบหมายให้  สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ซึ่งสำเร็จวิชากฏหมายจากประเทศอังกฤษเป็นผู้ดำเนินการ

การปฏิรูปการเมืองการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 6

* การเกิดกบฏ ร.ศ.130 ในปี ..2454 (..130) ซึ่งประกอบด้วยนายทหารและพลเรือน ซึ่งเรียกตัวเองว่า คณะพรรค ร.ศ.130 ต่อมาเรียกว่า ร.ศ.130 โดยมี ร.อ.เหล็ง ศรีจันทร์ (ขุนทวยหาญพิทักษ์) เป็นหัวหน้า สาเหตุสำคัญของกลุ่มกบฏนี้ คือ ต้องการให้ประเทศมีความเจริญก้าวหน้าโดยเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากสมบูรณาญา สิทธิราชเป็นแบบประชาธิปไตย โดยกฏหมายรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศ แต่ต้องประสบกับความล้มเหลวในที่สุด
* การจัดตั้งดุสิตธานี เมืองจำลองประชาธิปไตย หลังเกิดกบฏ ร.ศ.130 รัชกาลที่ 6 ได้ตั้งเมืองจำลองประชาธิปไตยขึ้นชื่อว่าดุสิตธานี การปกครองในเมืองดุสิตธานีก็ดำเนินรอยตามแบบประชาธิปไตย คือ มีการเลือกตั้ง นครภิบาล” ซึ่งเปรียบได้กับ นายกเทศมนตรีนคราภิบาลจะต้องได้รับการเลือกตั้งจากเชษฐบุรุษมาก่อน เชษฐบุรุษ เปรียบได้กับ สมาชิกเทศบาล ซึ่งจะต้องได้รับการเลือกจาก ทวยนาคร” หรือปวงประชานั้นเอง

การปฏิรูปการปกครองในส่วนกลาง

* พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดตั้งกระทรวงใหม่ คือ กระทรวงมุรธาธร กระทรวงทหารเรือ กระทรวงพาณิชย์และทรงยุบกระทรวงนครบาล และเปลี่ยนชื่อกระทรวงโยธาธิการเป็นกระทรวงคมนาคม ส่วนอำนาจหน้าที่ของกระทรวงต่างๆ ยังคงเหมือนกับสมัยรัชกาลที่ 5

การปรับปรุงการปกครองในส่วนภูมิภาค

* พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดตั้งมณฑลเพิ่มขึ้น คือ มณฑลร้อยเอ็ด ซึ่งมี 3 หัวเมือง ได้แก่ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และกาฬสินธ์ และเพื่อเป็นการประหยัด พระองค์ได้รวมมณฑล2-3มณฑลรวมกันเป็นภาค เรียกว่า มณฑลภาค” เพื่อแบ่งเบาภาระของกระทรวง โดยให้ข้าราชการชั้นสูงเป็นอุปราชประจำมณฑลภาค งานใดที่มณฑลภาคสามารถจัดการได้ก็ไม่ต้องส่งถึงกระทรวง

การปรับปรุงการเมืองการปกครองสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงมีแนวคิดแบบประชาธิปไตย ดังเห็นได้จากพระราชกรณียกิจดังต่อไปนี้

* ทรงแต่งตั้งอภิรัฐมนตรีสภา เพื่อเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
* โปรดเกล้าฯให้อภิรัฐมนตรีสภา ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้ง สภากรรมการองคมนตรี” เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาหารือขอราชการซึ่งพระราชทานลงมาให้ศึกษา และที่พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ปรึกษา
* ทรงจัดตั้งเสนาบดีสภา เพื่อเตรียมคนให้รับผิดชอบร่วมกันทั้งคณะให้เหมือนคณะรัฐมนตรีแบบตะวันตก เช่นเดียวกับเสนาบดีสภาในสมัย ร.5
* ทรงมอบหมายให้อภิรัฐมนตรีสภาวางรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปเทศบาล
*
พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีวิสารวาจา และนายเรย์มอนด์ บี.สตีเวนส์ คิดร่าง รัฐธรรมนูญ” ตามพระราชดำริ
แต่ขณะเดียวกันแนวพระราชดำริของรัชกาลที่ 7 ที่เตรียมการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อพระราชทานต่อปวงชนชาวไทยนั้น ได้รับการคัด ค้านจากอภิรัฐมนตรีสภา เพราะเกรงว่าประชาชนยังไม่พร้อม จึงทำให้การเตรียมการต้องชะงักลง เป็นผลให้คณะราษฏรเป็นผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองในที่สุด
heme.b�!t.m.�.�..��.n;mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin'>* การทำนุบำรุงด้านศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่ 2 รัชกาลที่ 2 ทรงสนพระทัยในเรื่องการก่อสร้างและตกแต่งตึกรามต่างๆ พระองค์โปรดเกล้าฯให้สร้าง “สวนขวา” ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ทรงริเริ่มสร้างพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม (แต่สร้างสำเร็จเรียบร้อยในสมัยรัชกาลที่ 3) พระปรางค์จะตกแต่งด้วยถ้วยและชามจีนซึ่งทุบให้แตกบ้าง แล้วติดกับฝาทำเป็นลวดลายรูปต่าง ๆ เช่น ดอกไม้ พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านการแกะสลัก ดังจะเห็นได้จากประตูวัดพระเชตพนวิมลมังคลาราม ประตูวัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นต้น
รัชกาลที่ 2 โปรดการฟ้อนรำอย่างโบราณของไทยเป็นอันมาก ทั้งโขนและละคร ทรงปรับปรุงจังหวะและท่ารำต่างๆ โดยพระองค์เอง พระองค์โปรดให้มีพระราชนิพนธ์บทละครขึ้นใหม่ ทั้งที่เป็นเรื่องเดิมและเรื่องใหม่ หรือเอาเรื่องเดิมมาแต่งขึ้นใหม่ บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 มีทั้งหมด 7 เรื่อง เรื่องอิเหนา” เป็นเรื่องที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เองตลอดทั้งเรื่อง ส่วนอีก 6 เรื่อง โปรดเกล้าฯ ให้กวีท่านอื่นๆ ร่วมงานด้วย

* การทำนุบำรุงด้านศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่ 3 การผลิตงานทางด้านศิลปะในสมัยรัชกาลที่ 3 จัดว่ามีลักษณะเยี่ยมยอดในวงการศิลปะของไทยไม่แพ้ในสมัยอื่น ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงมุ่งซ่อมแซมและปรับปรุงปราสาทมากกว่าจะสร้างใหม่ โดยระมัดระวังรักษาแบบดั้งเดิมเอาไว้ พระองค์ทรงปฏิสังขรณ์และขยายเขตวัดวาอารามมากมาย ทรงสร้างวัดด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ขึ้น 5 วัด ให้เชื้อพระวงศ์และขุนนางสร้างอีก 6 วัด วัดสำคัญที่สร้างในสมัยนี้ได้แก่ วัดเทพธิดาราม,วัดราชนัดดา,วัดเฉลิมพระเกียรติ์,วัดบวรนิเวศวรวิหาร,วัดบวรสถาน,วัดประยูรวงศ์,วัดกัลยาณมิตร เป็นต้น สิ่งก่อสร้างมากมายที่เป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมทางศาสนาของไทย เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ พระสถูป พระมลฑป หอระฆัง เป็นต้น โบสถ์และวิหารที่สร้างขึ้นมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีหลังคาลาดเป็นชั้น มุงกระเบี้องสี ผนังก่ออิฐถือปูนประดับลวดลาย และมีเสาใหญ่รายรอบรับชายคา โบสถ์ขนาดใหญ่และสวยงามที่สร้างในรัชกาลนี้คือ โบสถ์วัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งสร้างแบบสามัญ ส่วนโบสถ์วัดบวรนิเวศวรวิหารสร้างเป็นแบบมีมุขยื่นออกมาทั้งสองข้างทางด้านปลาย

สถาปัตยกรรมแบบไทยอย่างอื่นๆ ที่มีความสำคัญรองลงมา คือ พระมณฑป ศาลา หอระฆัง และระเบียงโบสถ์ สิ่งก่อสร้างเหล่านี้มีอยู่สิ่งหนึ่งที่ก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 และเป็นงานที่ดีที่สุด คือ ระเบียงรอบพระวิหารที่วัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งมีหน้าบันแกะสลักไว้อย่างงดงาม

ผลงานทางสถาปัตยกรรมอีกอย่างหนึ่ง ที่ได้ก่อสร้างไว้บริเวณวัด และจัดอยู่ในจำพวกสิ่งก่อสร้างปลีกย่อยคือ เรือสำเภาซึ่งก่อด้วยอิฐ รัชกาลที่ 3 ทรงมีรับสั่งให้สร้างขึ้นเพื่อว่าในอนาคตเมื่อไม่มีการสร้างเรือสำเภากันอีก แล้ว ประชาชนจะได้แลเห็นว่าเรือสำเภานั้นมีรูปร่างลักษณะเป็นอย่างไร วัดที่พระองค์ทรงรับสั่งให้สร้างสิ่งอันเป็นประวัติศาสตร์นี้ คือ วัดยานนาวา

ในสมัยรัชกาลที่ 3 ภาพเขียนแบบไทยต่างๆ ส่วนมากไม่โดดเด่น ที่เขียนขี้นมาส่วนใหญ่เพื่อความมุ่งหมายในการประดับให้สวยงามเท่านั้น ส่วนงานช่างแกะสลักในสมัยรัชกาลที่ 3 ก็เกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางพระพุทธศาสนามากกว่างานช่างในสาขาจิตรกรรม โดยเฉพาะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเครื่องบันดาลใจอันสำคัญยิ่งที่ก่อให้เกิดผลงานทางด้านศิลปะประเภทนี้

ทางด้านวรรณกรรม รัชกาลที่ 3 ทรงสนับสนุนวรรณคดีทางศาสนาและประวัติศาสตร์ ดังเช่น หนังสือเรื่องมลินทปัญญา” เป็นต้น แต่ในสมัยนี้ไม่สนับสนุนให้มีการแสดงละครภายในพระบรมมหาราชวัง ทั้งยังไม่โปรดปรานนักแสดงหรือนักประพันธ์คนใดเลย

กล่าวโดยสรุป ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น การทำนุบำรุงและฟื้นฟูทางด้านศิลปวัฒนธรรมได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 3 และการทำนุบำรุงก็กระทำโดยวิธีรักษารูปแบบเดิมไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ในขณะเดียวกันก็เพิ่มเติมสิ่งใหม่ๆ ผสมผสานเข้าไปด้วย ทำให้ศิลปวัฒนธรรมของไทยในยุคนี้เจริญรุ่งเรืองมาก

สภาพสังคมและศิลปวัฒนธรรมในสมัยรัชกาลที่ 4

1. การปรับปรุงด้านสังคมในสมัยรัชกาลที่ 4
เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นช่วงที่ไทยเริ่มปรับตัวทางด้านสังคมและวัฒนธรรมให้เข้ากับขนบธรรมเนียม ตะวันตกเท่าที่สามารถจะกระทำได้ ภายหลังจากที่ไทยได้ทำสัญญาทางพระราชไมตรีและการค้ากับชาติตะวันตก อย่างกว้างขวาง นับตั้งแต่ พ.ศ.2398 เป็นต้นมา รัชกาลที่ 4 ก็ทรงดำเนินการปรับปรุงทางด้านสังคมควบคู่ไปด้วย ดังนี้

* อนุญาตให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์แรงงาน เพื่อให้บรรดาไพร่ที่มีอยู่ใช้แรงงานของตนไปทำงานส่วนตัวได้
* ออกประกาศห้ามบิดามารดาหรือสามีขายบุตรภรรยาไปเป็นทาสโดยที่เจ้าตัวไม่สมัครใจ เพราะรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าไม่เป็นการยุติธรรมสำหรับเด็กและสตรี ถ้าจะต้องถูกบังคับในเรื่องดังกล่าว
* ให้สตรีที่บรรลุนิติภาวะแล้วมีสิทธิเลือกสามีได้ โดยบิดามารดาจะบังคับมิได้
* อนุญาตให้บรรดาเจ้าจอมกราบถวายบังคมลาไปอยู่ที่อื่น หรือไปแต่งงานใหม่ได้
* โปรดเกล้าฯ ให้สตรีในคณะผู้สอนศาสนาคริสต์เข้าไปสอนภาษาอังกฤษให้แก่สตรีในราชสำนักเป็นเวลาประมาณ 3 ปี
* ใน พ.ศ.2408 โปรดเกล้าฯ ให้นางแอนนา เลียวโนเวนส์ สตรีชาวอังกฤษเข้าไปเป็นครูสอนภาษาอังกฤษให้กับพระราชโอรสและธิดา โดยตั้งโรงเรียนขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพราะทรงเห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษ ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงประเทศชาติต่อไปในอนาคต
* ทรง จัดส่งข้าราชการไปศึกษาและดูงานในต่างประเทศเพื่อจะได้นำความรู้และ ประสบการณ์ที่ได้รับมาปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัยดังเช่น ทรงส่งหวาด บุนนาค บุตรพระอภัยสงครามไปฝึกหัดวิชาทหารเรือ ส่งเนตร บุตรพระยาสมุทบุรารักษ์ไปเรียนภาษาอังกฤษที่ประเทศสิงค์โปร์ และส่งพร บุนนาค ไปเรียนที่ประเทศอังกฤษ เป็นต้น

2. การปรับปรุงทางด้านวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 4 (ยุคปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย)
ภายหลังจากที่ไทยได้ทำสนธิสัญญาเบาริง กับอังกฤษในปี 2398 แล้ว การติดต่อกับต่างประเทศ โดยเฉพาะกับชาติตะวันตกได้ดำเนินไปอย่างกว้างขวาง ส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างมาก บางครั้งก็ทำให้วัฒนธรรมไทยเปลี่ยนแปลงตามแบบตะวันตก แต่บางครั้งก็มีการส่งเสริมให้วัฒนธรรมไทยแต่ดั้งเดิมดำรงอยู่ต่อไป

การส่งเสริมด้านศิลปะ ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ก็ทรงเปิดความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกอย่างกว้างขวาง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่องานทางด้านศิลปวัฒนธรรมของไทยอยู่บ้าง แต่ในขณะเดียวกัน การทำนุบำรุงและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของไทยก็เพิ่มพูนมากขึ้นไปด้วย

รัชกาล ที่ 4 ทรงซื้อและโปรดเกล้าฯ ให้ทำการต่อเรือกลไฟตามแบบตะวันตกหลายลำ เพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการค้าขาย ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เรือจักรสำหรับเป็นเรือพระที่นั่ง แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงรับเรือพายพระที่นั่งอันงดงามมาจากรัชกาลก่อนๆ นอกจากนี้ ยังโปรดเกล้าฯ ให้ต่อเรือขึ้นอีกลำหนึ่ง โดยพระราชทานนามว่า อนันตนาคราช” ที่หัวเรือทำเป็นพญานาคเจ็ดเศียร ซึ่งยังคงรักษาเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้

สำหรับในพระบรมมหาราชวัง ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตึกขึ้นใหม่หลายอาคาร ทั้งแบบไทยและแบบฝรั่ง ทรงสร้างวัดขึ้นใหม่ 5 วัดในกรุงเทพ และโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมอีก 20 วัด นอกจากนี้ยังทรงสร้างวัดขึ้นใหม่ในต่างจังหวัดอีกด้วย เช่น ที่เพชรบุรีทรงสร้างวัดแบบไทย แต่พระราชวังที่ประทับซึ่งอยู่ใกล้ๆ กันกลับสร้างเป็นแบบฝรั่งและมีหอดูดาว ในกรุงเทพฯ ก็ทรงสร้างวังตามแบบศิลปะตะวันตก เช่น วังสราญรมย์ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น